หุ่นยนต์

 

1. หุ่นยนต์ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม  



     ในปัจจุบันนี้การพัฒนาหุ่นยนต์ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตยางและพลาสติกในโรงงานมากยิ่งขึ้น เพื่อนำผลที่ได้ไปต่อยอกงานวิจัยต่อไป ในขณะที่ความต้องการของผู้ผลิตส่วนใหญ่คือ ปริมาณสินค้าจำนวนมาก เพียงหุ่นยนต์ขนาดเล็ก หรือขนาดกลาง ก็สามารถเพิ่มปริมาณสินค้าจำนวนมากได้ในเวลาอันสั้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ผลิตได้เป็นย่างดี

 

     มีคุณสมบัติอีกหลายประการที่ทางหน่วยงานผลิตหุ่นยนต์ จะต้องคอยปรับแก้ไข หากหุ่นยนต์ที่ผลิตขึ้นมานั้นยากต่อการใช้งาน หรือเป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์ หรือทำให้สมดุลธรรมชาติเสียไป ดังนั้นสิ่งที่เพิ่มเข้าไปในหุ่นยนต์อาจประกอบด้วย การตอบสนองต่อแรงกระทำ และการพัฒนาระบบการรับภาพ เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถปรับตำแหน่งได้โดยอัตโนมัติหรือดูมีชีวิตมากยิ่งขึ้นหรือเพิ่มความยืดหยุ่นต่างๆ ซึ่งหุ่นยนต์ที่ดีควรมี:

▪   ส่วนแขนของหุ่นยนต์

▪   สว่านหรือตัวเจาะ

▪   ส่วนล้อและส่วนเครน

▪   ส่วนที่เป็นมือหยิบจับ

▪   ตัวเชื่อม, อ็อกโลหะ (ช่วยทำให้โลหะเข้ารูปได้ดีขึ้น)

▪   ต้องมีการพัฒนาหุ่นยนต์อยู่เสมอ     

 

ยกตัวอย่างเช่น ส่วนแขนของหุ่นยนต์จะมีประโยชน์ต่องานอุตสาหกรรมที่หลากหลาย และส่วนประกอบที่ตัวหุ่นยนต์สามารถถอดหรือใส่บางสิ่งเข้าไปเพื่อปรับให้เหมาะสมกับงานที่ทำมากที่สุด



เหตุผล 5 ประการที่ควรใช้หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

▪   หุ่นยนต์สามารถทำงานผลิตได้อย่างประสิทธิภาพ ตั้งแต่กระบวนการสร้าง จนถึงกระบวนการห่อบรรจุภัณฑ์

▪   สามารถตั้งค่าหุ่นยนต์ให้ทำงานตลอด 24 ชม.ได้ ทำให้เมื่อไฟดับ หุ่นยนต์จะยังสามารถทำงานต่อไปได้

▪   ชิ้นส่วนภายในหุ่นยนต์มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามแต่ที่เราต้องการ ทำให้สามารถ ทำงานที่ค่อนข้างซับซ้อนได้เป็นอย่างดี

▪   เนื่องจากปัจจุบันหุ่นยนต์มีการพัฒนาที่ดีขึ้นจากแต่เดิมมากยิ่งขึ้น ทำให้ทางผู้ผลิตต้องการปรับเปลี่ยนทุกสิ่งอย่างภายในโรงงานให้เป็นอัตโนมัติ เพื่อความสะดวกสบาย

▪ การให้หุ่นยนต์ทำงานโดยอัตโนมัติ จะช่วยสร้างประโยชน์ให้กับบริษัทมากมาย ไม่ว่าจะเป็นจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ หรือแม้แต่ร้านค้าเล็กๆ


วิดีโอความรู้เพิ่มเติมหุ่นยนต์ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม 


2. หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์หรือสัตว์


   หุ่นยนต์สัตว์เลี้ยง Moflin เป็นหุ่นยนต์ผลิตโดยบริษัทในกรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่นชื่อว่าVanguard Industries ได้นำนวัตกรรมสัตว์เลี้ยงที่ไม่ใช่น้องหมาน้องแมว แต่เป็นหุ่นยนต์สัตว์เลี้ยง AI ขนาดเล็กมาเปิดตัวในงาน CES 2021 ที่มีอารมณ์และความรู้สึกเป็นของตัวเองแบบต่างๆ สามารถเรียนรู้อารมณ์ความรู้สึกมนุษย์คล้ายกับการเลี้ยงสัตว์ของเราจริงๆ โดยผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) จึงทำให้มีความคล้ายกับสัตว์เลี้ยงที่มีชีวิตได้โดยมันสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงอารมณ์ไปมาได้อย่างหลากหลาย ตั้งแต่ตื่นเต้น, สงบ และอารมณ์ปกติ รวมไปถึงอารมณ์แบบอื่นๆแถมยังฉลาดพอที่ตอบสนองกับคนที่เข้ามาเล่นกับมัน รวมถึงตอบสนองต่อเสียงและการเคลื่อนไหวทั้งใกล้และไกลอีกด้วย



   Moflin สามารถเลียนแบบสัตว์ที่มีชีวิตได้อย่างเสมือนจริงมาก เหมาะสำหรับกับคนที่อยากเลี้ยงสัตว์แต่สถานที่ไม่เอื้ออำนวย คนที่แพ้ขนสัตว์ หรือคนที่อยากมีสัตว์เลี้ยงไว้เป็นเพื่อนแต่ก็ไม่มีเวลาดูแล เพียงแค่ต้องการชาร์จพลังงานให้เท่านั้นการชาร์จไฟให้กับหุ่นยนต์ Moflin AI ก็ไม่ได้ยุ่งยาก เพราะมาพร้อมกับระบบชาร์จแบบไร้สายในรังที่นอนของมันสำหรับส่วนประกอบของหุ่นยนต์ Moflin จะมีระบบเซ็นเซอร์ต่างๆ ขนาดเล็ก ไว้ทำหน้าที่รับรู้ความรู้สึกถึงการสัมผัสสร้างปฏิสัมพันธ์ มีระบบบลูทูธในการเชื่อมต่อกับแอพพ์สมาร์ตโฟนสำหรับ iOS หรือ Android พร้อมด้วยลำโพงในการสื่อสารไมค์ในการรับรู้ และแบตเตอรี่ที่สามารถชาร์จแบบไร้สายในรังที่พักเล็กๆ

วิดีโอเพื่อความรู้เพิ่มเติมหุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์หรือสัตว์
ดูไม่ได้กดที่นี้ MOFLIN | An AI Pet Robot with Emotional Capabilities




3.หุ่นยนต์ที่ใช้ทางการแพทย์หรือการทหาร


ตัวหุ่นยนต์อยู่ข้างคนไข้ ทำการผ่าตัดเลียนแบบการเคลื่อนไหวของมือศัลยแพทย์ที่ควบคุมสั่งการอยู่ที่ console หุ่นยนต์นี้ประกอบด้วยแขนกล 4 แขน แขนที่1 ใช้ในการถือกล้องเพื่อส่งภาพอวัยวะภายในของผู้ป่วยออกมายังจอภาพของเครื่องสั่งการ (console)ให้ศัลยแพทย์เห็นเป็นภาพขยาย 3 มิติที่มีความลึกและคมชัด สามารถมองเห็นรายละเอียดต่างๆ ของอวัยวะภายในร่างกาย รวมถึงเนื้อเยื่อและเส้นประสาทได้อย่างชัดเจน แขนที่เหลืออีก 3 แขนก็ใช้ในการถือเครื่องมือหุ่นยนต์ที่มีข้อมือกล (wristed instruments) ที่สามารถหมุนและโค้งงอเครื่องมือได้ถึงเจ็ดทิศทาง จึงให้การเคลื่อนไหวของเครื่องมือหุ่นยนต์ทำได้เหมือนมือมนุษย์ แต่จะละเอียดและราบรื่นกว่าด้วยการช่วยเหลือปรับปรุงสัญญานโดยคอมพิวเตอร์

ชุดควบคุมหรือสั่งการ (console) เป็นตำแหน่งที่ศัลยแพทย์นั่งควบคุมการผ่าตัดผ่านจอภาพ 3 มิติ ระหว่างการผ่าตัด ศัลยแพทย์จะนั่งประจำที่ console ทำการผ่าตัดโดยใช้ทั้งสองมือควบคุมเคลื่อนไหวก้านกลเหมือนผ่าตัดปกติ ระบบจะถ่ายทอดสัญญาณการเคลื่อนไหวจากมือศัลยแพทย์ไปยังแขนกลของหุ่นยนต์ที่ทำการผ่าตัดภายในร่างกายของผู้ป่วยเลียนแบบการเคลื่อนไหวของศัลยแพทย์

คอมพิวเตอร์คอนโทรลทาวเวอร์ (Computer Control Tower) เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยควบคุม วิเคราะห์ และกรองข้อมูลสัญญานไปมาระหว่างหุ่นยนต์กับศัลยแพทย์


วิดีโอเพื่อความรู้พิ่มเติมหุ่นยนต์ที่ใช้ทางการแพทย์หรือการทหาร
ดูไม่ได้กดที่นี้ หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด


4.หุ่นยนต์ที่ใช้เก็บกู้ระเบิด

     ศูนย์นวัตกรรมเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ (Applied Innovation Centre : AI Centre) ภายใต้การอำนวยการของ ผศ.ดร.ภานวีย์ โภไคยอุดมกว่า 5 ปีของการพัฒนาหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด โดยเริ่มจากแรงบันดาลใจ ที่อยากจะช่วยเหลือประเทศไทยในแบบของวิศวกร โดยจะขอใช้ความรู้ความสามารถที่มี เป็นกำลังหนุนให้กับเหล่าทหารที่ปฏิบัติงานเพื่อป้องกันประเทศในเหตุการณ์ไม่สงบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยเห็นความสำคัญของหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดที่สามารถเข้าไปเก็บกู้หรือทำลายวัตถุต้องสงสัยแทนเจ้าหน้าที่ ซึ่งอย่างน้อยที่สุดแม้จะปฏิบัติภารกิจไม่สำเร็จ หุ่นยนต์เหล่านี้จะเข้าไปตายแทนเจ้าหน้าที่ ถือเป็นการลดการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งแน่นอนว่าคุณค่าของหุ่นยนต์ เทียบไม่ได้เลยกับชีวิตคนหนึ่งคน แม้ว่าราคาจะสูงเท่าไหร่ก็ตามจากความคิดนี้ ทำให้ AI Centre เริ่มวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์รุ่นแรกขึ้น คือ “หุ่นยนต์กู้วัตถุระเบิดแบบพกพา(Portable Rescue Robot : PRR) โดยการออกแบบโครงสร้างที่แข็งแรงและใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา คงทนสูง ด้วยน้ำหนักประมาณ 26 กิโลกรัม ผู้ใช้สามารถพกพาโดยการสะพายหลังหรือยกเคลื่อนย้ายเข้าสู่พื้นที่ได้อย่างคล่องตัวส่วนล้อเป็นตีนตะขาบสำหรับใช้งานบนพื้นผิวขรุขระ และติดตั้งแขนกล 5 แกนอิสระพลังสูง สามารถเคลื่อนย้าย สอดส่องวัตถุต้องสงสัย เปิดประตูรถยนต์ได้คล่องตัว อีกทั้งสามารติดตั้งปรับเลี่ยนอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ได้ เช่น เครื่องรบกวนสัญญาณโทรศัพท์ ปืนตัดวงจรระเบิดด้วยแรงดันน้ำ
นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีทันสมัยอยู่ในตัวหุ่น เช่น ระบบควบคุมด้วยสัญญาณดิจิตอลที่ประมวลผลโดยไมโครคอนโทรเลอร์ขนาดเล็กและคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา ช่องทางการสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย ที่สามารถเชื่อมต่อได้ทั้งแบบเชื่อมสายและไร้สาย กล้องความละเอียดสูงที่มีเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลและแสดงผลภาพอย่างต่อเนื่อง เซ็นเซอร์วัดระยะ ไฟสปอตไลท์ความสว่างสูงสำหรับการใช้งานในกลางคืน พร้อมกล่องควบคุมที่ออกแบบให้พกพาง่าย ทนทาน และสามารถซ่อมบำรุงได้

     ระบบขับเคลื่อนโดยใช้ล้อสายพานแบบ Differential Track Wheels มีระบบป้องกันการลื่นไถลขณะปีนป่าย กล้องความละเอียดสูง 1920x1080 สามารถมองเห็นได้ในเวลากลางคืน (ความสว่าง 0 lux) ในระยะ 15 เมตร ความเร็วสูงสุด 15 กิโลเมตร/ชั่วโมงรับ-ส่งสัญญาณควบคุมระหว่างสถานีควบคุมกับตัวหุ่นยนต์แบบไร้สาย ผ่านระบบ Wi-Max ที่ความถี่ปรับแต่งได้ตั้งแต่ 4-6 GHz มีระบบป้องกันการส่งข้อมูลผิดพลาด ระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง ขนาด 28 โวลต์ 16.8 แอมแปร์ ติดตั้งระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ ระยะเวลาปฏิบัติงานปกติ 2 ชั่วโมง ระยะเวลาปฏิบัติงานหนัก ½ ชั่วโมง สามารถติดตั้งแขนกลได้หลายรูปแบบ และเปลี่ยนแขนกลได้ทันที หรือทำหน้าที่เป็นหุ่นยนต์สำรวจโดยไม่ติดตั้งแขนกลก็ได้นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาให้มีระบบ Interface ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยผู้ใช้งานให้สามารถควบคุมหุ่นยนต์ได้ง่ายขึ้น โดยระบบจะเป็นตัวสื่อสารแจ้งข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นให้ผู้ใช้งานทราบในเวลานั้น เช่น ปริมาณแบตเตอรี่ ท่าทางของแขนหุ่นยนต์ ภาพจากกล้องที่หุ่นยนต์ เป็นต้น โดยการแสดงข้อมูลต่าง ๆ นั้น จำเป็นต้องแสดงข้อมูลทั้งหมดให้ใกล้เคียงกับเวลาจริงมากที่สุด โดยระบบ Interface ถือเป็นระบบที่สำคัญ ต้องทำการออกแบบให้เข้าใจง่าย ใช้งานง่าย และมีความน่าเชื่อถือ

วิดีโอเพื่อความรู้เพื่มเติม
หุ่นยนต์ที่ใช้เก็บกู้ระเบิด







ความคิดเห็น